วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแก๊ส LPG

แก๊สธรรมชาติ จะพบในชั้นหินที่มีรูพรุนใต้พื้นผิวโลก มักจะพบอยู่บนผิวหน้าของน้ำมันดิบ

แก๊สหุงต้ม หรือ แก๊สปิโตรเลียมเหลว (Liqueified Petroleum Gas : LPG) เกิดขึ้นได้  2  วิธี...

1.ผลิตจากกระบวนการกลั่นน้ำมันในโรงกลั่นน้ำมันต่างๆ
2.ผลิตจากกระบวนการแยกแก๊สของแก๊สธรรมชาติ


แก๊สหุงต้ม (LPG)
ประกอบด้วยแก๊สโปรเพน (Propane) และแก๊สบิวเทน (Butane) เป็นส่วนประกอบหลัก และจะบรรจุในสภาพเป็นของเหลวโดยการอัดให้มีความดัน ประมาณ100 - 130 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว

แก๊สธรรมชาติ  
ประกอบด้วย แก๊สมีเทน (Metane) เป็นส่วนใหญ่ และมีแก๊สโปรเพน  บิวเทน  และอีเทนผสมอยู่บ้างเล็กน้อย


คุณสมบัติพื้นฐานของแก๊สที่ควรรู้
  • ค่าความร้อน (Heating Value) หมายถึง ปริมาณความร้อนที่เชื้อเพลิงที่มีมวลหนึ่งหน่วย และมีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส คายออกมาจากการทำปฏิกริยากับออกซิเจน และแก๊สไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ถูกทำให้กลับมามีอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ดังเดิม
  • ค่าความถ่วงจำเพาะ (Specific Gravity) แก๊สที่มีค่าความถ่วงจำเพาะมากกว่า 1.0 เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ  ซึ่งเมื่อรั่วไหลออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก  จะไหลลงไปที่พื้นและจะลอยอยู่เรี่ยๆกับพื้น  และมันจะค่อยๆกระจัดกระจายออกไปสู่บรรยากาศ อย่างช้าๆ  แก๊สโปรเพนและแก๊สบิวเทน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของแก๊สหุงต้ม  มีค่าความหนาแน่นสูงกว่าอากาศ ประมาณสองเท่า  ดังนั้นถ้าแก๊สหุงต้มรั่วออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก มันจะไหลลงสู่พื้นและจะค่อยๆกระจายออกสู่บรรยากาศ  ส่วนแก๊สธรรมชาติ มีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่าอากาศ  เมื่อรั่วออกมาจะลอยขึ้นสู่อากาศ  จึงมีการกระจัดกระจายได้เร็วกว่าแก๊สหุงต้ม
  • ความดันไอ (Vapour Pressure) คือ ความดัน ณ จุดที่ของเหลวได้รับความร้อนกลายเป็นไอจนกระทั่งเกิดการเดือด เช่น ความดันไอของน้ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับความดันบรรยากาศ  หรือจุดเดือดของน้ำที่ความดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 100 องศาเซลเซียส
          แก๊สบิวเทน มีค่าความดันไอ ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เท่ากับ  55  ปอนด์/ตารางนิ้ว
          แก๊สโปรเพน มีค่าความดันไอ เท่ากับ 177 ปอนด์/ตารางนิ้ว

         แก๊สมีเทน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของแก๊สธรรมชาติ  จะมีค่าความดันไอที่สูงกว่าแก๊สโปรเพนในแก๊สหุงต้ม ประมาณ  40  เท่า  ดังนั้นการนำแก๊สธรรมชาติ มาใช้งานจึงไม่เหมาะที่จะบรรจุถังเป็นของเหลว  เว้นแต่จะทำให้แก๊สเย็นตัวลง จนถึงอุณหภูมิ (-160) องศาเซลเซียส  จึงจะได้แก๊สมีเทนในสภาพของเหลวที่ความดันบรรยากาศ  แต่เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำมาก ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้
  • ย่านที่สามารถติดไฟได้ (Flammability) เมื่อแก๊สใดๆ ผสมกับอากาศในปริมาณที่พอเหมาะ และได้รับพลังงานจากภายนอก เช่น ความร้อน เปลวไฟ หรือการจุดระเบิดก็จะทำให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นได้  ย่านที่ติดไฟได้จึงหมายความว่า ย่านที่มีปริมาณเชื้อเพลิงที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการเผาไหม้ได้รวดเร็ว  ถ้าเชื้อเพลิงมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าย่านนี้ก็จะไม่สามารถเกิดการเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็ว 
         แก๊สทั้งสามชนิดที่เป็นส่วนผสมของแก๊สธรรมชาติและแก๊สหุงต้ม  มีย่านที่ติดไฟได้ค่อนข้างแคบมาก  ซึ่งหมายความว่า  ถ้าแก๊สธรรมชาติหรือแก๊สหุงต้มรั่วออกมา จะมีโอกาสติดไฟได้น้อยมาก
  • จุดติดไฟอัตโนมัติ (Autoignition  Temperature) การที่เชื้อเพลิงจะเกิดการติดไฟหรือเผาไหม้ได้ จะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ เชื้อเพลิง  อากาศและพลังงาน(ความร้อนหรือเปลวไฟ) แต่เมื่อเชื้อเพลิงผสมกับอากาศและมีอุณหภูมิสูงเพียงพอ ก็จะสามารถเผาไหม้ได้เองโดยไม่ต้องมีประกายไฟ  อุณหภูมินี้ เรียกว่าจุดติดไฟอัตโนมัติ 
         จุดติดไฟอัตโนมัติของแก๊สมีเทน คือ 537  แก๊ส โปรเพนคือ 470 แก๊สบิวเทนคือ 365 องศาเซลเซียส

อะเซทิลีน


คุณสมบัติทั่วไปอะเซทิลีนเป็นก๊าซที่มีความไวไฟมาก ไม่มีสี มีกลิ่น (ฉุนคล้ายกระเทียม) จากคุณสมบัติของอะเซทิลีนที่มีความสามารถละลายได้ดีในอะซิโตน (300:1 โดยปริมาตรที่ 175 PSI ) ทำให้เราสามารถจัดจำหน่ายอะเซทิลีน โดยอาศัยอะซิโตนได้ ดังนั้นในท่อก๊าซอะเซทิลีนจึงบรรจุวัสดุซึมซับที่สามาร ถจับสารละลายอะซิโตนไว้อยู่ภายใน ซึ่งทำให้ท่อก๊าซอะเซทิลีนแตกต่างไปจากท่อก๊าซทั่วไป
ก๊าซอะเซทิลีนใช้ป็นก๊าซเชื้อเพลิงด้วยการผสมอ๊อกซิเจน/อะเซทิลีน (Oxy-acetylene welding) ใช้ในงานตัด (Cutting), งานเซาะร่อง(Gouging), งานเชื่อม (Welding) , การเผาให้ความร้อน ,งานทำความสะอาดด้วยเปลวไฟ ,เคลือบผิวแข็งที่ผิวหน้าโลหะ (Surface Hardening) , ปัดเป่าผงฝุ่นจากโลหะ และอีกหลายกระบวนการ
นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอุปกรณ์ที่เรียกว่า “atomic absorbtion” และใช้เป็นวัตถุดิบในกระบวนการสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรม และยังเป็นสารประกอบทางเคมีของสารเคมีต่างๆ อาทิ ไวนีลคลอไรด์ไวนีล อะซีเตรด และทรีคลอรีไทสัน

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บุ่งหวายอ๊อกซิเจน

114 ม.9 ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี 34190
จำหน่าย ก๊าซออกซิเจน ก๊าซอาร์กอน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซหุงต้มทุกชนิด เปิดบริการทุกวัน 088-3458955 http://bungwaioxygen.blogspot.com/

ไนโตรเจน

ไนโตรเจน (อังกฤษNitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไนด์

อาร์กอน

อาร์กอน (อังกฤษArgon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Ar และเลขอะตอม 18 เป็นก๊าซมีตระกูลตัวที่ 3 อยู่ในกลุ่ม 18 ก๊าซอาร์กอนประกอบเป็น 1% ของบรรยากาศของโลก

คาร์บอนไดออกไซด์

คาร์บอนไดออกไซด์ (อังกฤษcarbon dioxide) เป็นก๊าซในบรรยากาศ ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 1 อะตอม และ ออกซิเจน 2 อะตอม ต่อหนึ่งโมเลกุล. คาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งในสารประกอบเคมีที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด และมักเรียกด้วยสูตรเคมี CO2 เมื่ออยู่ในสถานะของแข็ง มักจะเรียกว่า น้ำแข็งแห้ง (dry ice)
เป็นก๊าซที่มีปริมาณมากเป็นอันดับ 4 ในอากาศ รองจากไนโตรเจน ออกซิเจนและ อาร์กอน
คาร์บอนไดออกไซด์เกิดขึ้นได้หลายลักษณะ เช่น ภูเขาไฟระเบิด การหายใจของสิ่งมีชีวิต หรือการเผาไหม้ของสารประกอบอินทรีย์ ก๊าซนี้เป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช เพื่อใช้คาร์บอนและออกซิเจนในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงนี้ พืชจะปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาสู่บรรยากาศ ทำให้สัตว์ได้ใช้ออกซิเจนนี้ในการหายใจ การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ของพืชนี้เป็นการลดก๊าซเรือนกระจกลงได้ เนื่องจากคาร์บอนไดออกไซด์เป็นก๊าซหนึ่งที่เป็นสาเหตุของปรากฏการณ์เรือนกระจก

ออกซิเจน

ออกซิเจน (อังกฤษOxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่นๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพืช